About us l Thalassemia l Diagnosis l Treatment l PND l Questions l Thalassemia Club lConference l Links l News l HOME

ธาลัสซีเมียคืออะไร

    ธาลัสซีเมียเป็นโรคเลือดจางพันธุกรรมที่พบบ่อยมากในประเทศไทย คือพบคนเป็นโรคนี้ประมาณร้อยละ 1 ของประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 6 แสนคน

    อาการของโรคเป็นอย่างไร อาการสำคัญของโรคได้แก่ ซีด และตัวเหลือง ที่เรียกว่าดีซ่านตับและม้ามโต หรือที่ ชาวบ้านเรียกว่า "ป้าง" บางคนตับและม้ามโตมากเกือบเต็มท้อง ทำให้ท้องป่องและแน่นอึดอัด ตัวเล็กแคระแกรน ใบหน้ามีลักษณะผิดปกติ ที่ทางแพทย์เรียกกันว่า "ใบหน้าธาลัสซีเมีย" คือดั้งจมูกแฟบ ตาห่างกัน กระดูกโหนกแก้ม หน้าผาก และขากรรไกรบนด้านหน้า นูนเด่น ถ้าซีดมากจะมีอาการเหนื่อย ต้องให้เลือด รายที่รุนแรงมากอาจต้องให้เลือดบ่อยทุก 2 สัปดาห์หรือทุกเดือน รายที่ได้เลือดมากๆ จะทำให้มีเหล็กมากเกินในร่างกายและไปสะสมตามเนื้อเยื้อต่างๆ ทำให้เนื้อเยื้อถูกทำลายและเกิดโรคอื่นๆ ตามมา เช่นตับแข็ง เบาหวาน เป็นต้น รายที่ม้ามโตมากและทำลายเม็ดเลือดอย่างรุนแรงอาจต้องตัดม้าม หลังตัดม้ามจะเป็นโรคติดเชื้อได้ง่ายเพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง

    โรคธาลัสซีเมียถ่ายทอดอย่างไรเนื่องจากเป็นโรคกรรมพันธุ์หรือถ่ายทอดความผิดปกติจากพ่อและแม่มาสู่ลูกที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย (ดังรูป) พ่อและแม่ทั้งสองเป็น พาหะของธาลัสซีเมีย หมายถึงเป็นคนปกติ มีสุขภาพดีไม่เป็นโรคธาลัสซเีมีย

    พ่อเป็นพาหะ

    แม่เป็นพาหะ

    ลูกปกติ 1/4 พาหะแบบพ่อ 1/4 พาหะแบบแม่ 1/4 เป็นโรค 1/4

    จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นพาหะ

    1. พ่อแม่ที่เคยมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมีย ทั้งสองท่านต้องเป็นพาหะของธาลัสซีเมีย
    2. ผู้ที่มีญาติเป็นโรคธาลัสซีเมีย นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่า ท่านที่เป็นญาติกับคนเป็น โรค อาจมีพันธุกรรมหรือยีนผิดปกติอยู่ก็ได้ ถึงแม้ท่านเป็นคนสุขภาพแข็งแรง พันธุกรรมผิดปกติของธาลัสซีเมียก็อาจแฝงอยู่ ในตัวของท่าน ถึงแม้ท่านเคยมีลูกปกติไม่เป็นโรคธาลัสซีเมีย ก็ไม่เป็นข้อพิสูจน์แน่นอนว่าท่านไม่มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ ควรตรวจเลือดว่าเป็นพาหะหรือไม่
    3. ท่านที่ไม่มีญาติเป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือไม่เคยทราบว่ามีญาติเป็นโรคธาลัสซีเมีย แต่ก็อาจเป็นพาหะของธาลัสซีเมียก็ได้เพราะว่าในประเทศไทย พบคนเป็นพาหะของธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติจำนวนมากคือ
  • พาหะของแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย1 พบประมาณร้อยละ 5
  • พาหะของแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย2 พบประมาณร้อยละ 16
  • พาหะของเบต้า-ธาลัสซีเมีย พบประมาณร้อยละ 5
  • พาหะของฮีโมโกลบินอีพบประมาณร้อยละ 13 ตัวเลขนี้เป็นค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ ในต่างภาคตัวเลขจะแตกต่างกันออกไป เช่นภาคเหนือพบพาหะของแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย และฮีโมโกลบินคอนสแตน์สปริง รวมประมาณร้อยละ 30 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบฮีโมโกลบินอีสูงมาก บางแห่งพบถึงร้อยละ 50

    จะตรวจรู้ได้อย่างไรว่าเป็นพาหะ โดยการเจาะเลือดตรวจปริมาณ 5 มิลลิลิตร นำมาตรวจกรองพาหะ สามารถบอกในเบื้องต้นได้ว่าท่านเป็นพาหะ ของ ธาลัสซีเมีย หรือ ฮีโมโกลบินผิดปกติ หลังจากนั้น นำเลือดที่เหลือมาตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการอีกครั้งว่าเป็น อัลฟาธาลัสซีเมีย เบต้าธาลัสซีเมีย หรือ ฮีโมโกลบิน อี

    จะตรวจได้ที่ไหน ท่านสามารถมารับบริการตรวจกรองพาหะของธาลัสซีเมีย และฮีโมโกลบินผิดปกติได้ที : หน่วยโลหิตวิทยา กองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 246-1671-9 ต่อ 94142-3 โทรสาร 644-8990

     /Home/Thalassemia/Laboratory/Treatment/PND/Questions/Conference/Thal. club/Links/