ความเป็นตะวันตกกับรายการโทรทัศน์และวิทยุ
                                         ในระยะแรกรายการโทรทัศน์จะเป็นรายการที่ใช้รูปแบบการผลิตแบบไทย ๆ
       แต่พอช่วงปี  2528-2532 รายการโทรทัศน์เริ่มมีการปรับปรุงใหม่  มีรายการใหม่ ๆ มามาก   รูปแบบรายการเป็นแบบตะวันตกมากขึ้น  อาทิเช่น  รายการเกมส์โชว์   รายการ ทอล์คโชว์ รายการแนวสารคดีขนาดสั้น   รวมทั้งการรายงานข่าว/การเสนอข่าว  ซึ่งในช่วงปี 2530 เป็นต้นมา รายการในลักษณะของมิวสิควีดิโอ   รายการเพลงที่สร้างโดยค่ายเพลงต่าง ๆ เริ่มหลั่งไหลเข้ามาในรายการโทรทัศน์ จนกล่าวได้ว่า ปริมาณรายการแบบตะวันตก มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในโทรทัศน์ไทย   และเป็นรายการที่เป็นที่นิยมของคนส่วนมาก  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ  รายการเพลง ละครมิวสิควิดีโอของค่ายเพลงแกรมมี่และอาร์เอส
      ที่มีความถี่ของการออกอากาศสูงมาก  ในช่วงที่มีผู้ชมสูงอย่างช่อง 7 , 5 , 3     มิวสิควิดีโอ ที่ค่ายต่าง ๆ มักมีการนำเสนอภาพการใชัชีวิตแบบตะวันตก   สร้างภาพให้ผู้ชมดูว่าการใช้ ชีวิตแบบตะวันตกเป็นสิ่งที่เท่ห์ น่าลอกเลียนแบบ       เช่น ความสัมพันธ์ของเด็กนักเรียน
      โดยเฉพาะด้วยภาพของเด็กนักเรียนในโรงเรียนนานาชาติ     (ที่แตกต่างจากลักษณะของ โรงเรียนไทยอย่างเห็นได้ชัด) ความสัมพันธ์แบบชู้สาวของเด็กนักเรียน การทดลองอยู่กัน
      ก่อนแต่งงานของวัยหนุ่มสาว    ซึ่งในที่สุดภาพต่าง ๆ  เหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิต  กรอบความคิดของผู้รับสาร  หากผู้รับสารปราศจากการแยกแยะว่าสิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ
                                      ความบันเทิงที่แสดงออกมาทางวิทยุกระจายเสียงนั้นโดยเฉพาะรายการเพลง
      ที่มีผู้ฟังจำนวนมาก   รูปแบบของรายการเป็นรูปแบบที่ลอกเลียนแบบมาจากตะวันตกทั้งสิ้น
      เริ่มตั้งแต่ชื่อรายการ  ถ้าสถานีใดตั้งชื่อรายการด้วยภาษาไทย       ผู้ให้การสนับสนุนก็จะไม่ สนับสนุน เพราะคิดว่าเป็นคนฟังก็จะไม่ฟังและคิดว่าไม่น่าจะทันสมัย    รวมทั้งผู้ฟังก็จะ
      ไม่ฟัง  เพราะคิดว่ารายการจะน่าเบื่อกลัวคนอื่น ๆ จะว่าเชย อาทิเช่นชื่อรายการจะมีตั้งแต่ Radio No Problem , Smile Radio , Hotwave  แต่จะไม่มีชื่อสถานีอย่าง"ผิวปากตามเพลง" "เพลินเพลงยามค่ำ" เหมือนอย่างในอดีต เป็นต้น  รูปแบบของการจัดรายการ เพลงที่เปิดก็
      จะต้องมีการเอาใจตลาดแนวเพลงที่เปิด จะมีทั้งดนตรีร็อค ป็อป     และที่กำลังเป็นที่นิยมกัน ตอนนี้คือ แนวอัลเธอร์เนธีฟ  เพราะจากการสำรวจแล้วพบว่า   ผู้ฟังร้อยละ 60 ชอบดนตรี
      แบบโมเดิร์นไทย       ร้อยละ 50  ชอบแบบ  ดนตรีตะวันตก ร้อยละ 13 เป็นแนวโฟล์ค
      แล้วที่เหลือจะเป็นเพลงไทยแบบเก่าซึ่งมีไม่ถึง ร้อยละ 5
                      ปรากฏการณ์เหล่านี้ สามารถกล่าวได้ว่า"ปัจจุบันนี้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ของ    เมืองไทยกำลังเสียตัวให้กับตะวันตกอย่างเห็นได้ชัด"